หมู่ที่ 2 บ้านเลขที่ 96 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1

หมู่ที่ 2 บ้านเลขที่ 96 ต.ช้างเผือก

อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300

หมู่ที่ 2 บ้านเลขที่ 96 ต.ช้างเผือก

อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ของครูที่เน้นทักษะการคิดของนักเรียนโดยใช้ โครงงานเป็นฐาน (PBL) หรือ STEM ด้วยรูปแบบการบริหารงาน SMILE Model

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นทักษะการคิดของนักเรียน

ความเป็นมาและความสาคัญของการพัฒนานวัตกรรม

การจัดการศึกษาตามแนวทางแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ในมาตรา 6 ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้คู่คุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี ความสุข และมาตรา 22 ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสาคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ การจัดสาระการเรียนรู้ตามมาตรา 23 จึงได้ เน้นความรู้เกี่ยวกับตนเอง ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย ความรู้เกี่ยวกับทักษะด้านคณิตศาสตร์ เน้นการใช้ภาษาไทย อย่างถูกต้อง ตลอดจนทักษะในการประกอบอาชีพและการดารงชีวิตอย่างมีความสุข ในการจัดการ เรียนรู้ตามมาตรา 24 มีสาระสาคัญดังนี้ (สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545 : 27–29)

1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน โดยคานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

2. ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้ เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา

3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทาได้ คิดเป็น ทาเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง

4. จัดการเรียนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุล รวมทั้งปลูกฝัง คุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา

5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และ อานวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วน หนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ครูผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน จากแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ

6. จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนจึงต้องมีหลักสูตรเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา โดยเฉพาะ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 6-8) ได้ กาหนดกลุ่มสาระการเรียนรู้ไว้ทั้งหมด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และได้กาหนดสมรรถนะสาคัญของ ผู้เรียน 5 ประการ คือ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการ แก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี จะเห็นได้ว่า ทักษะการคิดเป็นสิ่งที่สาคัญทักษะหนึ่งที่นักเรียนจะต้องได้รับการพัฒนา

การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนวัดเจ็ดยอดที่ผ่านมา ทั้งในการจัดการเรียนการสอนใน สภาวะปกติ หรือการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์โรคโควิด-19 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนยังไม่เป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะผลการทดสอบระดับชาติ ที่เน้นการประเมินผลหรือการทดสอบ ด้านทักษะการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า เป็นหลัก ซึ่งสาเหตุหนึ่งคือ การจัดการเรียนการ สอนของครูที่ยังเน้นวิธีการสอนแบบบรรยาย ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้พัฒนารูปแบบการ ปฏิรูปการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นทักษะกระบวนการคิดของนักเรียนโดยใช้โครงงานเป็น ฐาน (PBL) หรือ STEM ด้วยรูปแบบการบริหารงาน SMILE Model เพื่อแก้ปัญหาทักษะการคิด ตามที่กล่าวมา

คลิกที่นี่เพื่ออ่านต่อ

Comments are closed.